การสำรวจทางทะเล

การสำรวจทางทะล

การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1450-1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป และต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้เกิดการสำรวจทางทะเล ซึ่งเป็น ผลให้ยุโรปเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้ในเวลาต่อมา
สาเหตุของการสำรวจทางทะเล มีดังนี้

1. การมีวิทยาการที่ก้าวหน้า ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปได้เริ่มหันมาสนใจ ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และผลจากการติดต่อกับโลกตะวันออกในสมัยสงครามครูเสด รวมทั้ง การขยายตัวของเมืองในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปได้สัมผัสกับอารยธรรมความเจริญ ของโลกตะวันออกหลายอย่าง โดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทำให้ ปัญญาชนเริ่มตรวจสอบความรู้ของตนและค้นหาคำตอบให้กับตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ซึ่งผลักดันให้ชาวยุโรปหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นระหว่างโลกตะวันออกกับโลก ตะวันตก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของโตเลมี (PTOLEMY) นักดาราศาสตร์และ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนริมฝั่งทะเลคาบสมุทร ไอบีเรีย จนถึงดินแดนฝั่งทะเลตอนเหนือของทวีปแอฟริกา รวมทั้งดินแดนทางด้านตะวันออกที่ เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ถึงอินเดียและจีน นอกจากนี้ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรง และขนาดของเรือให้แข็งแรงทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถที่จะเดินทางไกลได้ดีขึ้น ทำให้ชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกอย่างกว้างขวาง

2. แรงผลักดันทางด้านการค้า เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมดใน ค.ศ. 1453 ทำให้การค้าทางบกระหว่างโลก ตะวันออกกับโลกตะวันตกหยุดชะงัก แต่สินค้าต่างๆ จากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศยาต่างๆ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตก ซึ่งหนทางเดียวที่พ่อค้าจะติดต่อค้าขายได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสำรวจเส้นทางทางทะเล เพื่อหาเส้นทางติดต่อกับ ดินแดนต่างๆ ทางตะวันออก

3. แรงผลักดันทางด้านศาสนา เนื่องจากความคิดของผู้นำชาติต่างๆ ในขณะนั้นเห็น ว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาเป็นกุศลอย่างมาก รวมทั้งต้องการแข่งขันกับชาวมุสลิมที่เข้ามาขยาย อิทธิพลอยู่ในขณะนั้น จึงสนับสนุนให้มีการค้นหาดินแดนใหม่ๆ และเผยแผ่คริสต์ศาสนาไป พร้อมกันด้วย

4. อิทธิพลของแนวคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ แนวความคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา การ ทำให้ชาวยุโรปมุ่งหวังที่จะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศและความต้องการที่จะเสี่ยงโชคเพื่อชีวิต ที่ดีกว่า ผลักดันให้ชาวยุโรปเกิดความกล้าหาญที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ รวมทั้งความกระตือรือร้น ที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และรักการผจญภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปกล้าเสี่ยงภัยเดิน ทางสำรวจมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาล
บทบาทของชาติต่างๆ ในการสำรวจทางทะเล
โปรตุเกส

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (HENRY THE NAVIGATOR) พระอนุชาของพระเจ้าจอห์นที่ 1 (JOHN I) แห่งโปรตุเกส ได้จัดตั้งโรงเรียนราชนาวีเพื่อเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางทะเล การใช้ เครื่องมือและเทคนิคการสร้างเรือ ซึ่งส่งผลให้ชาว โปรตุเกสสามารถค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทาง ตะวันออก ได้แก่

111455448

        – บาร์โธโลมิว ไดแอส (BARTHOLOMEU DIAS) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาผ่านแหลม กู๊ดโฮป (CAPE OF GOOD HOPE) ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1488

200px-Vasco_da_Gama_(without_background)

   – วัสโก ดา กามา (VASCO DA GAMA) แล่นเรือตาม เส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงทวีปเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่ง ที่เมืองกาลิกัต (CALICUT) ของอินเดียได้เมื่อ ค.ศ. 1498 ต่อมา ชาวโปรตุเกสสามารถควบคุมเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งตะวันออก ของทวีปแอฟริกาและอินเดียทางชายฝั่งตะวันตก สามารถยึด เมืองกัว (GOA) ในมหาสมุทรอินเดียได้

สเปน

christopher-columbus

   ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (CHRISTOPHER COLUMBUS) ชาวเมืองเจนัว (ประเทศอิตาลี) ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกกลม ได้รับ การสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนให้เดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือ ไปประเทศจีน แต่เขาได้พบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญใน ค.ศ. 1492 ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ ในอเมริกาใต้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เงินและทองคำ ในเวลาต่อมา

คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงการแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปนเพื่อ หาเส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อินดีส (EAST INDIES) ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องเทศและพริกไทย ใน ค.ศ. 1494 สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (ALEXANDER VI) ได้ให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญา ทอร์เดซียัส (TREATY OF TORDESILLAS) กำหนดเส้นสมมติแบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิ สำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิทาง ด้านตะวันออกและนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย

ในคริตส์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสได้ขยายอำนาจมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้า ยึดครองมะละกา ทำให้บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ โปรตุเกส

ค.ศ. 1519 เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน (FERDINAND MAGELLAN) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส โดยความสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน ได้เดินทางไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านช่องแคบที่ภายหลังตั้งชื่อว่าแมกเจลลันทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก มายังทวีปเอเชีย เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายเมื่อพยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เกาะฟิลิปปินส์ แต่ ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จใน ค.ศ. 1522 นับเป็นเรือ ลำแรกที่แล่นรอบโลกได้สำเร็จ

ในยุคนี้โปรตุเกสและสเปนกลายเป็นชาติที่มีอำนาจ มีความมั่งคั่ง ทำให้หลายชาติทำการ สำรวจเส้นทางเดินเรือ การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกส ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วง ค.ศ. 1580-1640

ฮอลันดา

เดิมฮอลันดาเคยอยู่ใต้การปกครองของสเปน และทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้า เครื่องเทศ จนกระทั่ง ค.ศ. 1581 ได้แยกตัวเป็นอิสระจากสเปน ทำให้สเปนประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอนส่งผลให้ฮอลันดาไม่สามารถซื้อเครื่องเทศได้อีก ฮอลันดาจึงต้องหาเส้นทางทางทะเลเพื่อ ซื้อเครื่องเทศโดยตรง ในที่สุดกองทัพเรือของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจทางทะเลใน ค.ศ. 1598 และได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เพื่อ ควบคุมการค้าเครื่องเทศ

ใน ค.ศ. 1605 เรือดุฟเกน (DUYFKEN) ของฮอลันดา ที่เป็นเรือค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่า อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา ได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก และเรียก ทวีปนี้ว่า นิวฮอลแลนด์ (NEW HOLLAND) แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้ครอบครองและ เรียกทวีปนี้ว่า ออสเตรเลีย ซึ่งมาจาก AUSTRALIS ในภาษากรีก แปลว่า ดินแดนทางซีกโลกใต้

อังกฤษ

ใน ค.ศ. 1588 กองทัพเรือของอังกฤษทำสงครามชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (ARMADA) ของสเปนที่มีชื่อเสียงได้ ทำให้อังกฤษขยายอิทธิพลสู่ดินแดนตะวันออก สามารถสลายอำนาจทาง ทะเลของโปรตุเกสและเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดีย และเป็นคู่แข่งทางการค้ากับฮอลันดา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีเพียงอังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส แข่งขันกันมีอำนาจทางทะเลและ แสวงหาอาณานิคม ทั้งนี้ได้มีการทำสงครามกันหลายครั้ง ในที่สุดฮอลันดายังคงมีอำนาจแถบ มะละกาและควบคุมการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะเครื่องเทศต่อไป จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษกลับเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพกลางทะเลเหนือกว่าทุกชาติ โดยได้อาณานิคมในอินเดีย อเมริกาเหนือ และทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป

ผลการสำรวจทางทะเล มีดังนี้

1. อารยธรรมยุโรปเผยแพร่ไปสู่ดินแดนอื่นๆ ที่ชาวยุโรปเดินทางไปถึง โดยชาวยุโรป ได้สร้างเมืองและความเจริญต่างๆ เพื่อให้ตนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามแบบที่คุ้นเคย จึงเกิดการ แพร่กระจายวัฒนธรรมตามแบบตะวันตก เช่น ภาษา การแต่งกาย อาหาร ระบบการปกครอง ศิลปกรรม เช่น การก่อสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น

2. ยุโรปได้รับอารยธรรมจากดินแดนอื่นๆ เช่น วิทยาการของชาวตะวันออก เช่น การ เดินเรือ ศิลปะจีนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติ อารยธรรมของอิสลาม เช่น คณิตศาสตร์ การ ดื่มชาแบบจีน กาแฟจากตุรกี ยาสูบจากหมู่เกาะเวสต์อินดีส น้ำตาลจากบราซิล และมันฝรั่งจาก อเมริกาใต้ ได้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป

3. เกิดการแพร่กระจายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ชาวยุโรปได้นำพันธุ์พืชจากถิ่นกำเนิด ไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น นำกาแฟจากดินแดนตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวา ต่อมาได้แพร่ขยาย ไปปลูกยังอเมริกาใต้ ต้นยางพาราจากบราซิลมาปลูกที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ต่อมาได้ขยายมาปลูก ทางภาคใต้ของไทย มันฝรั่งและข้าวโพดจากทวีปอเมริกามาปลูกในยุโรป ปลูกข้าวโอ๊ตและ ข้าวโพดในทวีปแอฟริกา หัวผักกาดหวานจากทวีปอเมริกามาปลูกที่จีน และนำสัตว์ต่างๆ ไปยัง ทวีปอื่น เช่น แกะ ไปแพร่พันธุ์ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และนำลา ล่อ วัว แพะ มาเลี้ยงใน อเมริกา เป็นต้น

4. เกิดการระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งมาพร้อมๆ กับเรือของชาวยุโรป โรคระบาดที่ สำคัญ เช่น โรคหัดและฝีดาษในอเมริกาเหนือ ไข้เหลืองและไข้มาลาเรียที่มีมากในแอฟริกามา ระบาดในอเมริกากลางและใต้ เป็นต้น

5. ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปในดินแดนต่างๆ ที่ชาวยุโรปเข้าไปติดต่อค้าขาย หรือ ดินแดนที่ยุโรปได้เข้ายึดครองจัดตั้งเป็นอาณานิคม ในบางแห่งใช้แบบสันติวิธี โดยบาทหลวงจะทำ หน้าที่สั่งสอนให้การศึกษากับชาวพื้นเมืองและช่วย เหลือด้านมนุษยธรรม ในบางแห่งใช้วิธีการรุนแรงบีบ บังคับคนพื้นเมืองในบริเวณอเมริกากลางและ อเมริกาใต้ ให้มาเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนา ทำให้ ศาสนาคริสต์เจริญอย่างมั่นคงในดินแดนทวีปอเมริกา และดินแดนต่างๆ

6. การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของยุโรป การขยายตัวทางการค้าทำให้ สมาคมอาชีพ (GUILD) ที่มีมาตั้งแต่สมัยกลางล่มสลายลง การค้นพบดินแดนใหม่ส่งผลให้การค้า ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การปฏิวัติทางการค้า ประเทศต่างๆ ในตะวันตกต่างใช้นโยบาย แข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บรรดาพ่อค้าและนายทุนรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทโดยมีกษัตริย์ให้ การสนับสนุนทำการค้าในนามของประเทศ เช่น บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ บริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดา เป็นต้น ซึ่งทำให้บรรดาพ่อค้าและนายทุนมีฐานะมั่นคงและกลาย เป็นบุคคลชั้นนำทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา

Leave a comment